บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2018

อินเวอร์เตอร์

อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คืออะไร บางครั้งจะเรียกว่า " V/F Control " อินเวอร์เตอร์ ( Inverter ) ยังมีชื่อเรียกอีกหลายอย่างเช่น VSD   : Variable Speed Drives VVVF : Variable Voltage Variable Frequency VC     : Vector Control หลักการทำงานของอินเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์ ( Inverter )  จะแปลงไฟกระแสสลับ (AC) จากแหล่งจ่ายไฟทั่วไปที่มีแรงดันและความถี่คงที่ ให้เป็นไฟกระแสตรง (DC) โดยวงจรคอนเวอร์เตอร์ ( Converter Circuit ) จากนั้นไฟกระแสตรงจะถูกแปลงเป็นไฟกระแสสลับที่สามารถปรับขนาดแรงดันและความถี่ได้โดยวงจรอินเวอร์เตอร์ ( Inverter  Circuit) วงจรทั้งสองนี้จะเป็นวงจรหลักที่ทำหน้าที่แปลงรูปคลื่น และผ่านพลังงานของอินเวอร์เตอร์ โดยทั่วไปแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับมีรูปคลื่นซายน์ แต่เอาท์พุตของ Inverter จะมีรูปคลื่นแตกต่างจากรูปซายน์ นอกจากนั้นยังมี ชุดวงจรควบคุม (Control Circuit)  ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของวงจรคอนเวอร์เตอร์และวงอินเวอร์เตอร์ให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของ 3-phase Induction motor โครงสร้างภายในของ Inverter ชุดคอนเวอร์เตอร์ (Converter Circuit)  ซึ่งทำหน้าที่ แปลงไฟสลั

กฏมือขวา-มือซ้าย

รูปภาพ
กฎมือขวา – เครื่องกำเนิดไฟฟ้า - ทิศทางของกระแส ใช้สำหรับหาทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้า (แรงดันเหนี่ยวนำ) ที่เกิดขึ้นบนตัวนำ หรือทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสร้างขึ้นมา คือ เมื่อทำการเคลื่อนที่ลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก เราสามารถหาทิศทางของกระแสไฟฟ้าได้โดยใช้กฎมือขวาของเฟรมมิ่ง โดย ยกมือขวาขึ้นมา แล้วให้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลางของมือขวา วางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ตามรูป กำหนดให้ - นิ้วหัวแม่มือแทนทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวนำในสนามแม่เหล็ก - นิ้วชี้แทนทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็ก - นิ้วกลางแทนทิศทางของแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ หรือทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นเอง -------------------------------------------------------- * กฎมือซ้าย – มอเตอร์ไฟฟ้า - ทิศทางการเคลื่อนที่ ใช้สำหรับหาทิศทางการเคลื่อนที่ของตัวนำในสนามแม่เหล็ก หรือการหาทิศทางการหมุนของมอเตอร์ คือ เมื่อป้อนทิศทางกระแสไฟฟ้าเข้าไปในลวดตัวนำ ซึ่งลวดตัวนำอยู่ในสนามแม่เหล็ก เราสามารถหาทิศทางการเคลื่อนที่ของลวดตัวนำได้โดยใช้กฎมือซ้าย ของเฟ